การศึกษาแนวทางการจัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงาน สารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการ ประถมศึกษาจังหวัดปทุมธานี

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานสารสนเทศเพื่อการบริหาร โรงเรียนประถมศึกษา ใน 3 ด้าน ได้แก่ แนวคิดการจัดองค์กรของหน่วยงานสารสนเทศ รูปแบบการจัดองค์การและข้อมูลที่จำเป็นต้องมีในสารสนเทศของโรงเรียน และเพื่อเปรียบเทียบแนวคิดการจัดระบบสารสนเทศจำแนกตามขนาดโรงเรียน         กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ จำนวน 11 คน ขนาดกลาง 32 คน และขนาดเล็ก จำนวน 2 คน หัวหน้างานทั้ง 6 งานในโรงเรียนขนาดใหญ่ 66 คน ขนาดกลาง 192 คน และจากโรงเรียนขนาดเล็ก 12 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 315 ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจำนวน 1 ชุด แบ่งเป็น 3 ตอนดังนี้ คือ ตอนที่ 1 ถามสถานภาพของผู้ตอบคำถาม แบบสอบถามเป็นแบบเลือกตอบจำนวน 4 ข้อ แบ่งเป็นตอนที่1.1 สำหรับผูบริหารโรงเรียนเป็นผู้ตอบ และตอนที่ 1.2 สำหรับผู้ที่ทำหน้าที่หัวหน้างานเป็นผู้ตอบ ตอนที่ 2 แบ่งคำถามออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ถามเรื่องแนวคิดการจัดระบบสารสนเทศจำนวน 8 ข้อ ส่วนที่ 2 ถามเรื่องรูปแบบการดำเนินงานสารสนเทศ 6 รูปแบบ เป็นแบบมาตรฐานส่วนประมาณค่า 3 ระดับ แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น .85 ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ได้ครบทั้ง 315 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 การวิเคราะห์ข้อมูลวิเคราะห์โดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows เพื่อหาสถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t-test แบบ dependent samplesผลการวิจัยพบว่า1.แนวคิดการจัดระบบสารสนเทศทุกขนาดโรงเรียนต้องการให้มีการจัดองค์กรของหน่วยงานที่รับผิดชอบสารสนเทศด้วยแนวคิด จากระดับล่างสู่ระดับสูง (Bottom up Approach) คือการจัดองค์กรสารสนเทศในโรงเรียนจะต้องมีความต้องการการใช้ข้อมูลและสาร สนเทศเริ่มขึ้นจากหน่วยงานนั้นๆ2.ด้านรูปแบบการจัดการองค์กรและหน่วยงานที่รับผดชอบสารสนเทศพบว่า โรงเรียนขนาดใหญ่ต้องการจัดองค์การตามรูปแบบรวมศูนย์แบบที่ 1 โรงเรียนขนาดกลางต้องมีการจัดองค์การตามรูปแบบ เดี่ยวแบบที่ 2 และโรงเรียนขนาดเล็กมีความต้องการจัดองการในรูปแบบ 3 รูปแบบ ได้แก่ แบบเดี่ยวแบบที่ 2 แบบกระจายศูนย์ และแบบอิสระ3.ด้านความสำคัญและจำเป็นของสาระข้อมูลในงานแต่ละงานได้แก่ งานวิชาการ งานกิจการนักเรียน งานธรการการเงินและพัสดุ งานบุคลากร งานอาคารสถานที่ และงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน นั้น ในภาพรวมโรงเรียนขนาดใหญ่และขนาดกลางมีความคิดเห็นว่าข้อมูลส่วนใหญ่เป็นข้ออมูลที่มีความสำคัญจำเป็นในระดับมากสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กมีความคิดเห็นว่าข้อมูลที่นำเสนอส่วนใหญ่มีความสำคัญและจำเป็นในระดับปานกลาง

    อ้างอิง  สุวรรณา โชติสุกานต์ (2549) . การศึกษาแนวทางการจัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงาน สารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการ ประถมศึกษาจังหวัดปทุมธานี . มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ฯ



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การศึกษาความต้องการต่อการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในของบุคลากร ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดอำนาจเจริญ

Competence of Future Teachers in the Digital Security Area